documenta 12 ของ ดอคูเมนทา

งาน documenta ครั้งที่ 12 เริ่มวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2550 โดยมีแก่นนำ (เยอรมัน: Leitmotiv) 3 หัวข้อ[1][2] คือ

  • หรือความเป็นสมัยใหม่คือความล้าสมัยของเรา ? (เยอรมัน: Ist die Moderne unsere Antike?)
  • อะไรคือชีวิตที่เปลือยเปล่า ? (Was ist das bloße Leben?)
  • จะต้องทำอะไรอีก ? (Was tun?)

งานของไทยใน document 12

งานครั้งที่ 12 นี้ ทาง documenta ได้ร่วมมือกับสื่อมวลชนทางเลือกของไทย (มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน, โอเพ่น, ประชาไท, ฟ้าเดียวกัน, Budpage, และ Questionmark) จัดทำนิตยสารเฉพาะกิจ ในชื่อ Bangkok Documenta No. 1 มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและความเป็นไปของสถานการณ์ประชาธิปไตยในปัจจุบัน ซึ่งมีทั้งบทความจากประเทศไทยและทั่วโลก คัดเลือกโดยภัณฑารักษ์ Keiko Sei ชาวญี่ปุ่น[3] จัดพิมพ์เป็นภาษาไทยโดยสำนักพิมพ์ openbooks[4][5]

ในส่วนของงานจัดแสดง ศิลปินสาครินทร์ เครืออ่อน จากภาควิชาศิลปไทย มหาวิทยาลัยศิลปากรจะปลูกข้าวแบบขั้นบันไดหน้าปราสาท Wilhelmshöhe โดยได้เดินทางไปทำงานล่วงหน้าถึง 2 เดือน และได้ปลูกต้นกล้าทั้งหมดเสร็จในวันที่ 15 มิถุนายน ก่อนวันเริ่มงานเพียงวันเดียวโดยคะเนว่าข้าวจะเริ่มออกรวงในเดือนกันยายน ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของงานแสดงโดยในการปลูกนี้ ได้มีอาสาสมัครทั้งชาวเยอรมันและชาวไทย ร่วมกันลงแขกโดยมีนักวิชาการเกษตรชาวเยอรมนี และกลุ่มหญิงไทยที่อาศัยอยู่ที่นั่นกลุ่มหนึ่งซึ่งยังไม่ลืมวิชาการทำนาคอยดูแลให้อย่างใกล้ชิด[6]

การปลูกข้าวนี้ ทีมงานจากเมืองไทย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือชาวนาจริง ๆ ได้หลีกเลี่ยงที่จะใช้เครื่องจักรให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ที่เพาะปลูกดังกล่าวจะเป็นที่นาข้าวแบบขั้นบันไดแห่งแรกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเยอรมนี “สิ่งที่น่าสนใจของศิลปะโครงการปลูกข้าว แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างกันระหว่างการร่วมมือกันในการทำงานกับการแบ่งงานกันทำในสังคมสมัยใหม่ ความแตกต่างของภูมิปัญญาชาวบ้านกับความรู้ของผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการ และความแตกต่างกันของการปลูกพืชกับพื้นที่สวนสาธารณะที่ได้รับการดูแล” ผู้จัดงาน documenta กล่าว[7]